วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนในการสอนแบบบรรยาย (สรุป โดย อ.มนัส)

1.ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ประกอบด้วย
เรียกความสนใจ (ด้วย วิดิโอ,ภาพ,กลอน,เพลง ฯลฯ)
นำเสนอด้วย Power point
บอกชื่อเรื่องที่จะทำการสอน
บอกวัตถุประสงค์
บอกประโยชน์ทางตรง
บอกประโยชน์ทางอ้อม
กระตุ้นให้อยากเรียนเสริมแรง เป็นเรื่องที่ง่าย ทุกคนสามารถทำได้ ถ้าทุกคนตั้งใจฟัง
(เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ไม่ยากที่จะทำการศึกษา การสอนของครูในวันนี้จะเป็นการสอนแบบบรรยาย)

บอกหัวข้อเรื่องที่จะทำการสอน
(บอกอย่างกลมกลืน ก่อนที่จะได้ทำการศึกษา)

เชื่อมโยง เมื่อได้กล่าวถึงหัวข้อที่ได้พูดไปแล้วนั้น ประเด็นต่อไปก็จะได้พูดเข้าสู่เนื้อหาโดยบอกหัวข้อเรื่องที่ 1 เป็นอันดับแรก ที่จะทำการบรรยาย (แต่ละหัวข้อให้ทำการบอกอย่างกลมกลืนต่อเนื่อง)
(ควรใช้สื่อประกอบการบรรยายให้ชัดเจน)
  • เมื่อพูดถึงรายละเอียดของแต่ละหัวข้อเสร็จ (สื่อการสอนข้อความไม่ควรเกิด 8 บรรทัด ต่อ 1 หน้า) เน้นให้ใช้ภาพแทน (ตัวหนังสือไม่ควรให้มีลักษณะที่กลมกลืน)
  • ให้ทำการสอบถามนักเรียน (คำถามต่าง ๆ เน้นให้เกิดการส่งเสริมความคิด)
  • จากนั้น ใช้การสรุปย่อย (การสรุปไม่ควรพูดเฉพาะหัวข้อ ควรมีรายละเอียดเพิ่มเติมนิดหน่อย) คำที่มีลักษณะต้องแปล ควรให้มีการแปลด้วยภาษาไทยให้ชัดเจน สื่อการสอนต่าง ๆ ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้ VDO หรือ ภาพเคลื่อนไหวให้ชัดเจน น่าจะดูดี และเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
เชื่อมเข้าสู่หัวข้อถัดไป
  • เมื่อพูดถึงรายละเอียดของแต่ละหัวข้อเสร็จ
  • ให้ทำการสอบถามนักเรียน
  • จากนั้น ใช้การสรุปย่อย
เชื่อมเข้าสู่หัวข้อถัดไป
ในหัวข้อสุดท้าย อธิบายไปจนจบ จากนั้นใช้การตั้งคำถาม เพื่อถามตอบ
เมื่อได้ฟังการบรรยายไปจนหมดแล้ว หากไม่มีคำถาม ประเด็นต่อไปก็จะเป็นการสรุปเรื่องที่พูดมาทั้งหมดอีกครั้ง ดังนี้

เชื่อมโยงเข้าสู่หัวข้อการสรุป
  • เมื่อสรุปเสร็จ
  • บอกวัตถุประสงค์ ประโยชน์
  • ใช้การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล (ถ้ามีเว็บ ควรใช้หน้าเว็บอ้างอิง หรือถ้าเป็นหนังสือ ก็ควรใช้หนังสือในการอ้างอิง)
  • กระตุ้นซ้ำ เป็นการบอกแนวทาง การศึกษา เและแนวทางการศึกษาต่อ (ประโยชน์ทางอ้อม หรือ เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น เช่นใช้เป็นอาชีพเสริม หรือ เมื่อพบสถานการณ์จริง )
  • จบด้วย ข้อคิดเตือนใจ (กลอน,เพลง,ภาพประกอบ)


(รายละเอียดคำแนะนำ)
เรื่องของสื่อ ควรใช้หลักการเลือกสื่อให้เหมาะสม กับผู้เรียน
การสบสายตากับผู้เรียนต้องมี
การตั้งคำถาม ควรให้มีการตั้งคำถามแบบฉับพลัน และมีการลุกคำถาม

การเสริมแรง ตย.เช่น มีการสอบถาม มีการตอบคำถามที่ถูกต้อง มีการตบมือให้กำลังใจ เสริมได้ตลอดเวลา
การพูดที่เป็นธรรมชาติ ย่อมดีกว่าการพูด หลักการมากเกินไป





ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก