วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แผนการสอนแบบต่าง ๆ

แบบบรรยาย

แบบปฏิบัติ

วิธีการสอนแบบโครงงาน

รูปแบบการสอนแบบต่าง ๆ แหล่งอ้างอิง


javascript:void(0)
นวัตกรรมการศึกษา
บทเรียนโปรแกรม
.......การ ลำดับประสบการณ์ที่จัดวางไว้สำหรับนำผู้เรียนไปสู่ความสามารถโดยอาศัยหลัก ความสัมพันธ์ของสิ่งเร้ากับการตอบสนองพื้นฐานทางจิตวิทยาของบทเรียนโปรแกรม เป็นทฤษฎีแนวพฤติกรรมนิยม ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรง อาจเป็นไปได้ทั้งพฤติกรรมทางสมอง กล้ามเนื้อ และความรู้สึกการเสริมแรงเป็นการกระทำให้การตอบสนองของผู้เรียนมีความหมาย และเป็นไปตามที่ผู้สอนปรารถนาทุกครั้ง

ลักษณะของบทเรียนโปรแกรม
1. การแบ่งขั้นการเรียนรู้เป็นหน่วยย่อยๆ และเรียงลำดับจากง่ายไปสู่ยาก
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างกระฉับกระเฉง
3. ให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนของตนอย่างทันทีทันใด
4. ให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนเป็นระยะๆ

ประเภทของบทเรียนโปรแกรม
1. แบบเส้นตรง ให้ผู้เรียนทุกคนเรียนผ่านกรอบของบทเรียนทุกกรอบ ตั้งแต่กรอบที่ 1 ไปจนถึงกรอบสุดท้าย
2. แบบสาขา
- กรอบยืนหรือกรอบหลัก ทุกคนต้องเรียนผ่าน
- บทเรียนโปรแกรมแบบสาขา เหมาะสำหรับการใช้สอนในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา การวิเคราะห์

ข้อดีและข้อจำกัดของบทเรียนโปรแกรม
ข้อดี ทำให้ ผู้เรียนมีโอกาสเรียนด้วยตนเอง สามารถแก้ไขความเข้าใจผิดได้ทันทีถ้าตอบผิด ถ้าตอบถูกก็มีการเสริมแรงให้เกิดกำลังใจ สนรองความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ดี
ข้อจำกัด ไม่เหมาะสมสำหรับการสอนเนื้อหาวิชาที่ต้องการคำตอบในแง่ความคิด

ชุดการสอน
คือ ชุดของสื่อหลายๆชนิดหรือที่เรียกว่าสื่อประสมที่จัดไว้เป็นกล่องหรือซองตาม ลักษณะของเนื้อหาวิชา เพื่อรวบรวมเอกสารและประสบการณ์ต่างๆสำหรับช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพ

ทฤษฎีที่ทำให้เกิดชุดการสอน
1. การใช้สื่อประสม
2. การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์
3. การใช้จิตวิทยาการเรียนรู้มาจัดสภาพในการเรียน

ประเภทของชุดการสอน
1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย
2. ชุดการสอนแบบกลุ่มเล็กและชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
3. ชุดการสอนรายบุคคล

องค์ประกอบของชุดการสอน
1. คำชี้แจง
2. จุดมุ่งหมาย
3. การประเมินผลเบื้องต้น
4. รายการเนื้อหาวิชาและสิ่งที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
5. การกำหนดกิจกรรม
6. การประเมินผลขั้นสุดท้าย

ประโยชน์ของชุดการสอน
1. เร้าความสนใจของผู้เรียน
2. การเรียนรู้เป็นอิสระจากอารมณ์ของครู
3. ขจัดปัญหาในการขาดแคลนครู สนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียน
4. แก้ปัญหาความแตกต่างๆระหว่างบุคคล
5. ผู้เรียนสามารถรับทราบผลความก้าวหน้าของตนเอง
6. ให้ความสะดวกและสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่ครู

ศูนย์การเรียน
คือ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาหา ความรู้ด้วยตนเองจากโปรแกรมการเรียน ซึ่งจัดไว้ในรูปชุดการเรียนการสอนรายกลุ่มหรือรายบุคคล

แนวคิดในการจัดศูนย์การเรียน
1. การให้ผู้เรียนลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง
2. ให้รับทราบผลการกระทำในทันที
3. ให้มีโอกาสเกิดความภาคภูมิใจ
4. ให้เรียนไปทีละน้อยตามลำดับขั้น

ประเภทศูนย์การเรียน
1. ศูนย์การเรียนในห้องเรียน
2. ศูนย์การเรียนเอกทัศ
- ศูนย์การเรียนสำหรับครู เป็นห้องปฏิบัติการวิธีสอน
- ศูนย์วิชาการ สำหรับนักเรียน เพื่อให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
- ศูนย์การเรียนชุมชน เป็นสถานศึกษาที่เปิดโอกาสให้บุคคลทุกเพศทุกวัยเข้ามาศึกษาในเรื่องที่สนใจ

การสอนแบบศูนย์การเรียน
เป็นการจัดสภาพห้องเรียนรูปแบบใหม่ ที่เน้นให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมในการเรียนด้วยตนเองตามโปรแกรมการสอนที่จัดไว้ในศูนย์กิจกรรมต่างๆ

ขั้นตอนการเรียนในศูนย์การเรียน
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. นำเข้าสู่บทเรียน
3.ดำเนินกิจกรรมการเรียนโดยแบ่งกลุ่มผู้เรียน
4. สรุปบทเรียน
5. ประเมินผลการเรียน

ประโยชน์ของศูนย์การเรียน
1. สร้างบรรยากาศในการเรียน เพิ่มความสนใจของผู้เรียน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
3. ช่วยสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพในการแสดงความคิด
4. ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ

การสอนแบบจุลภาค
คือ การสอนในสถานการณ์จำลองห้องเรียนง่ายๆ เป็นการอสนมุ่งฝึกทักษะเฉพาะในการสอน

หลักเกี่ยวกับการสอนแบบจุลภาค
1. การเสริมแรง
2. การรับรู้ผลย้อนกลับ
3. การฝึกซ้ำหลายๆครั้ง
4. การถ่ายโยงการเรียน

ทักษะการสอนแบบจุลภาค
1. ทักษะสำหรับครูเป็นศูนย์กลาง
2. ทักษะผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

ขั้นตอนการสอนแบบจุลภาค
1. ขั้นศึกษาทักษะที่ต้องการฝึก
2. ขั้นเลือกเนื้อหาและวางแผนการสอน
3. ขั้นสอน
4. ขั้นวิเคราะห์ผลการสอน
5. ขั้นตัดสินใจ
6. ขั้นจบกระบวนการสอน

ข้อดีและข้อจำกัดการสอนแบบจุลภาค
ข้อดี ใช้ ในการทดลองสอนและปรับปรุงวิธีสอน ใช้ทดลองสอนเพื่อปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตร ใช้ฝึกทักษะและสมรรถภาพในการสอนให้กับครู เปิดโอกาสให้ผู้สอนทดลองสอนจนพอใจ
ข้อจำกัด ผู้ฝึกไม่ได้พบสภาพห้องเรียนจริง การสอนแบบจุลภาคใช้ประกอบการสอนแต่ไม่ใช้แทนการฝึกสอน

การสอนเป็นคณะ
เป็น วิธีดำเนินการสอนแบบที่เน้นการใช้บุคลากรให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยจัดให้ครูร่วมกันวางแผนจัดการเรียนการสอน ประเมินผล และรับผิดชอบเด็กกลุ่มเดียวกัน

วัตถุประสงค์ของการสอนเป็นคณะ
1. ปรับปรุงประสิทธิภาพของการสอน
2. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย
3. มีเวลาให้ผู้เรียนมาก
4. แก้ปัญหาจำนวนนักเรียนในห้องเรียน
5. ส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ
6. แก้ปัญหาความไม่ยุติธรรม

รูปแบบการสอนเป็นคณะ
1. แบบมีผู้นำ
2. แบบไม่มีผู้นำ
3. แบบครูพี่เลี้ยง

วิธีดำเนินการสอนเป็นคณะ
1. การสอนเป็นกลุ่มใหญ่
2. ความคิดรวบยอด
3. การสอนเป็นกลุ่มเล็ก
4. การค้นคว้าด้วยตนเอง

ข้อดีและข้อจำกัดของการสอนเป็นคณะ
ข้อดี ครู มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการ ครูใช้ความถนัดและความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ ทำให้ครูใหม่ได้มีโอกาสได้ฝึกงานให้เกิดความชำนาญ ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง
ข้อจำกัด ต้องเสียเวลาในการเตรียมงานมาก ความสำเร็จของการสอนขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและความร่วมมือของครู

การสอนทางไกล หมาย ถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกันแต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะสื่อประสม เช่น ตำราเรียน เทปบันทึกเสียง


แหล่งข้อมูล เพิ่มเติม


รูปแบบการสอน หมายถึง แผนการทำงานเกี่ยวกับการสอนที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยวางแผนการจัดองค์ประกอบและงานเกี่ยวกับการสอน อย่างมีจุดหมายที่เฉพาะเจาะจงที่จะให้ผู้เรียนบรรลุผลสำเร็จอย่างใดอย่าง หนึ่ง

๑. ความหมายของรูปแบบ
รูปแบบ Model หมายถึง ชุดของความสัมพันธ์จะเป็นเชิงปริมาณหรือคุณภาพก็ได้ ซึ่งจะแสดงให้เห็นความหมายเกี่ยวพันของลักษณะทีแท้จริงของสิ่งที่เรา เกี่ยวข้องคำว่า รูปแบบ โดยมโนทัศน์ของคำจะมีความหมายอย่างน้อย ๓ อย่าง
๑. ในทางสถาปัตย์หรือทางศิลปะ จะ หมายถึง หุ่นจำลอง
๒. ในทางคณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ จะหมายถึง สมการ
๓. ในทางศึกษาศาสตร์ จะหมายถึง ความสัมพันธ์ของตัวแปร กรอบของความคิด หรือ การแทนความคิดออกเป็นรูปธรรม

รูปแบบเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้นักทฤษฎีมองเห็นเหตุการณ์และแสดงความ สัมพันธ์ตลอดจนการควบคุม อ้างอิง หรือแปลความหมาย การสร้างรูปแบบจึงเป็นที่นิยมของนักทฤษฎีโดยทั่วไป รูปแบบเป็นการแสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเท่านั้น ไม่ใช่ปรากฏการณ์หรือสถานการณ์จริง ตัวอย่าง เช่น เราเขียนแผนผังบริเวณโรงเรียนแผนผังนั้น จึงเป็นเพียงข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์ของอาคารต่าง ๆ ไม่ใช่บริเวณโรงเรียนจริง ๆ สรุปได้ว่า รูปแบบ แผนภูมิ หรือ แผนผัง ช่วยให้มองเห็นทฤษฎีได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ใช่ตัวทฤษฎีโดยตรง

๒. ความหมายของรูปแบบการสอน
ในทางศึกษาศาสตร์ มีคำที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ คือ รูปแบบการสอน Model of Teaching หรือ Teaching Model และรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบ การจัดการเรียนการสอน Instructional Model หรือ Teaching-Learning Model คำว่า รูปแบบการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้

(๑) รูปแบบการสอน หมายถึง แบบหรือแผนของการสอน รูปแบบการสอนแบบหนึ่งจะมีจุดเน้นที่เฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง รูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจึงอาจมีจุดหมายที่แตกต่างกัน
(๒) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนหรือแบบซึ่งสามารถใช้การสอนในห้องเรียน หรือสอนพิเศษเป็นกลุ่มย่อย หรือ เพื่อจัดสื่อการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรรายวิชา รูปแบบ
การสอนแต่ละรูปแบบจะเป็นแนวในการออกแบบการสอนที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุ
วัตถุประสงค์ตามที่รูปแบบนั้น ๆ กำหนด
(๓) รูปแบบการสอน หมายถึง แผนแสดงการเรียนการสอน สำหรับนำไปใช้สอนในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลำดับความสอดคล้องกัน ภายใต้หลักการของแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน องค์ประกอบทั้งหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และทักษะที่ต้องการสอน ยุทธศาสตร์การสอน วิธีการสอน กระบวนการสอน ขั้นตอนและกิจกรรมการสอน และการวัดและประเมินผล

คำว่ารูปแบบการเรียนการสอน หรือรูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้
(๑) รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง โครงสร้างที่แสดงความสัมพันธ์และส่งเสริมซึ่งกันและกันระหว่างองค์ประกอบ ต่างๆ ในการเรียนการสอน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการสอน การประเมินผล รวมทั้งกิจกรรมสนับสนุนอื่น ๆ โดยผ่านขั้นตอนตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) รูปแบบการเรียนการสอน เป็นโครงสร้างที่ใช้เป็นแนวในการสร้างกิจกรรมการเรียนการสอน และจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน
การสอน
จากการศึกษาเอกสารต่าง ๆ พบว่านักการศึกษาไทยส่วนใหญ่ใช้คำว่า รูปแบบการสอน มากกว่ารูปแบบการเรียนการสอนและรูปแบบการจัดการเรียน
การสอน

๓. ลักษณะของรูปแบบการสอน
รูปแบบการสอนมีผู้ให้คำอธิบายไว้ดังนี้
(๑) รูปแบบการสอน ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญที่สัมพันธ์สอดคล้องกัน แม้รูปแบบ การสอนแบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีองค์ประกอบสำคัญคล้ายคลึงกันแต่บางรูปแบบอาจมีองค์ประกอบบางส่วน แตกต่างกันบ้าง
(๒) รูปแบบการสอน ควการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาสติปัญญา ควรจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา สิ่งแวดล้อมทางปัญญามีหลายลักษณะ เช่น ข้อมูล สิ่งของ รวมทั้งเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่าง ๆ รูปแบบการสอนที่มุ่งมั่นพัฒนาสติปัญญา จึงควรประกอบด้วยขั้นตอนการสอนที่ฝึกการกระทำหรือฝึกการคิดในลักษณะต่าง ๆ โดยมีการจัดข้อมูลหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนได้รับรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นระบบแบบแผน

ความสำคัญของการสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญา
สติปัญญาของมนุษย์เป็นความสามารถด้านการคิดในลักษณะต่าง ๆ สติปัญญาของมนุษย์ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น ในการจำแนกสัตว์ออกเป็น
สปีชีส์ต่าง ๆ นั้น ลักษณะสำคัญทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ คือ มนุษย์มี
สัดส่วนของน้ำหนักสมองต่อน้ำหนักตัวสูงกว่าสัตว์สปีชีส์อื่น ๆ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ กระบวนการทางสมองที่สัมพันธ์กับความสามารถในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เองได้ คือ การคิด จึงอาจกล่าวได้ว่า การพัฒนาสติปัญญาของคน คือ การพัฒนาความสามารถในการคิดนั่นเอง จากทฤษฎีเกี่ยวกับสติปัญญา สติปัญญาที่นักการศึกษาต่างๆ เสนอไว้เป็นที่ยอมรับว่าในสภาพปกติคนเราพัฒนาสติปัญญาได้โดยสามารถคิดใน ลักษณะต่าง ๆ ความสามารถในการคิดของคนเราสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างเป็นลำดับการพัฒนา
สติปัญญา หรือ พัฒนาความสามารถในการคิด นอกจากเกิดจากการที่คนมีสมองแล้วยังเกิดจากการที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วย

การสอนเป็นการจัดการสถานการณ์หรือจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดการ เรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง การสอนเพื่อพัฒนาสติปัญญาหรือพัฒนาความสามารถในการคิด จึงเป็นการจัดสถานการณ์หรือกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนพัฒนาความสามารถในการคิด ลักษณะต่าง ๆ ได้ แม้คนปกติทุกคนจะมีความสามารถในการคิดได้มาตั้งแต่เกิด แต่เด็กไม่ได้มี "ทักษะกระบวนการทางปัญญา" หรือ"ทักษะการคิด" มาตั้งแต่เกิดได้

หลักการสอนที่มีประสิทธิภาพโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
มีรูปแบบการสอนที่หลากหลายในการพัฒนาการสอนคิดให้กับผู้เรียน เช่น การสอนแบบโครงงาน การสอนโดยใช้รูปแบบ Synnectics Model การสอนโดยใช้รูปแบบ Inquiry การสอนโดยใช้รูปแบบวิทยาศาสตร์ ในการสอนคิดใคร่นำเสนอรูปแบบที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้นำเสนอในเอกสารวิชาการต่าง ๆ มากกมาย ซึ่งมีรูปแบบและขั้นตอน ดังต่อไปนี้
การสอนตามรูปแบบCIPPA
C (Construction) คือ ครูจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง
I (Interaction) คือ ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มี ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลและแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
P (Physical Participation) คือ จัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย
P (Process Learning) คือ จัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการทำงานให้สำเร็จ
A (Application) คือ การจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ขั้นตอนการสอนตาม CIPPA model
๑.ขั้นการทบทวนความรู้เดิม เป็นการสนทนาซักถามถึงกิจกรรมที่เคยเรียนรู้ หรือพื้นความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่จะดำเนินการสอน
๒.ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง ให้นักเรียนได้รู้จักแหล่งที่จะค้นหาความรู้ เช่น แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด สื่อเอกสาร มุมประสบการณ์ต่าง ๆ หรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น ภูมิปัญญา สถานที่สำคัญในชุมชน เป็นต้น
๓.ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่ กับความรู้เดิม เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความ เข้าใจแล้วใช้กระบวนการคิดในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิม ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หjavascript:void(0)รือสิ่งใหม่
๔.ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเมื่อได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน
๕.ขั้นการสรุปและการจัดระเบียบความรู้ เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนได้ง่าย เป็นกิจกรรมสรุปร่วมกัน โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้
๖.ขั้นการแสดงผลงาน เป็นกิจกรรมเสนอสิ่งที่เรียนรู้ในรูปของการจัดกิจกรรม
๗.ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือเพื่อแก้ปัญหาในสิ่งที่ต้องการคำตอบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก