วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการนำอภิปราย

1.เรียกความสนใจ (ภาพ,หรือ วีดิโอคลิป)
ส่วนนี้จะประกอบด้วยขั้นตอนอีก ดังนี้
บอกชื่อเรื่อง
บอกวัตถุประสงค์
บอกประโยชน์ทางอ้อม
เสริมแรง
บอกแนวทางการเรียนรู้ในวันนี้
บอกหัวข้อ (เน้นสาระสำคัญ)

เกริ่น เชื่อมโยง หัวข้อที่ทำการอภิปราย หัวข้อแรก

หัวข้อที่ 1 ใช้คำถามนำ (เช่นลงท้ายคำถามว่า อย่างไร)
ฝึกใช้คำถามผ่าน และคำถามหลาย ๆ แบบ
ตาม 2


จบหัวข้อ
สรุปหัวข้อย่อย
เกริ่น เชื่อมโยง
หัวข้อที่ 2 ใช้ถามนำ 1 และ คำถามตาม 2
จบหัวข้อ
สรุปหัวข้อย่อย


เกริ่น เชื่อมโยง
สรุปเรื่องที่ทำการอภิปราย (เน้นสารสำคัญ ของแต่ละหัวข้อ)
เน้น การเก็บประเด็นต้องเอามาพูดทั้งหมด ไม่ต้องกำหนดรายชื่อ (เนื่องจากจะเยิ่นเย้อจนเกินไป)
ต้องควบคุมชั้นเรียนให้ได้


บอกประโยชน์ทางตรง
บอกประโยชน์ทางอ้อม
บอกแนวทางการศึกษาเพิ่มเติม
เสริมแรง

เกริ่นนำ
จบด้วย บทกลอน หรือ คำคมต่าง ๆ

ตามด้วย สวัสดี

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการเขียนแผนการสอนสาธิตปฏิบัติ

1. ขั้นตอน
1.1 ดาวโหลดโปรแกรม จากเว็บไซต์ http://th.wordpress.org/
1.2 ดาวโหลดโปรแกรม เว็บเซอร์เวอร์ จาก

ดาวน์โหลด AppServ 2.5.10 & Wordpress 3.0.3 Thai และ Theme

AppServ 2.5.10
ดาวน์โหลด : http://www.dmcr.go.th/download/software/appserv-win32-2.5.10.exe

Wordpress Thai 2.9.1
ดาวน์โหลด : http://www.dmcr.go.th/download/software/wordpress-2.9.1-th.zip

Wordpress Thai 2.9.2
ดาวน์โหลด : http://www.dmcr.go.th/download/software/wordpress-2.9.2-th.zip

Wordpress Thai 3.0.3
ดาวน์โหลด : http://www.dmcr.go.th/download/software/wordpress-3.0.3-th.zip


Theme for WordPress Thai
ดาวน์โหลด : http://www.dmcr.go.th/download/software/theme_.rar

สื่อการสอนแนะนำ

การสอน

แผนการสอนแบบสาธิตปฏิบัติ

วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )

วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )

ความหมาย
หมายถึงวิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง

ความมุ่งหมาย
1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้นักเรียนมีความสนใจในบทเรียนยิ่งขึ้น
2. เพื่อช่วยในการอธิบายเนื้อหาที่ยาก ซึ่งต้องใช้เวลามาก ให้เข้าใจง่ายขึ้น และประหยัดเวลา บางเนื้อหาอาจจะอธิบายให้นักเรียนเข้าใจได้ยาก การสาธิตจะทำให้นักเรียนได้เห็นขั้นตอนและเกิดความเข้าใจง่าย
3. เพื่อพัฒนาการฟังการสังเกตและการสรุปทำความเข้าใจในการสอน โดยใช้วิธีสาธิต นักเรียนจะฟังคำอธิบายควบคู่ไปด้วย และต้องสังเกตขั้นตอนต่าง ๆ ตลอดจนผลที่ได้จากการสาธิตแล้วจึงสรุปผลของการสาธิต
4. เพื่อแสดงวิธีการหรือกลวิธีในการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เช่น การทำกิจกรรมในวิชาคหกรรม ศิลป ฯลฯ
5. เพื่อสรุปประเมินผลความเข้าใจในบทเรียน
6. เพื่อใช้ทบทวนผลความเข้าใจในบทเรียน

ขั้นตอนในการสอน
1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการสาธิตให้ชัดเจน และต้องสาธิตให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง
2. เตรียมอุปกรณ์ในการสาธิตให้พร้อม และตรวจสอบความสมบูรณ์ของอุปกรณ์
3. เตรียมกระบวนการสาธิต เช่น กำหนดเวลาและขั้นตอน จะเริ่มต้นดำเนินการและจบลงอย่างไร ผู้สาธิตต้องเข้าใจในขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดแจ่มแจ้ง
4. ทดลองสาธิตก่อนสอน ควรทดลองสาธิตเพื่อตรวจสอบความพร้อมตลอดจนผลที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดในเวลาสอน
5. ต้องจัดทำคู่มือคำแนะนำหรือข้อสังเกตในการสาธิต เพื่อที่นักเรียนจะใช้ประกอบในขณะที่มีการสาธิต
6. เมื่อสาธิตเสร็จสิ้นแล้ว นักเรียนควรได้ทำการสาธิตซ้ำอีก เพื่อเน้นให้เกิดความเข้าใจดีขึ้น
7. จัดเตรียมกิจกรรมหลังจากการสาธิตเพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการสาธิตนั้น ๆ
8. ประเมินผลการสาธิต โดยพิจารณาจากพฤติกรรมของนักเรียนและผลของการเรียนรู้ การประเมินผลควรมีกิจกรรมหรือเครื่องมือ เช่น การทดสอบ การให้แสดงความคิดเห็นหรือการอภิปรายประกอบ

ที่มา
http://www.arts.ac.th


เพิ่มเติมครับ

รูปแบบการสอนแบบ Direct Instruction โดยวิธีการสอนแบบการสาธิต (Demonstration Method)

เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด

รูปแบบการสอนแบบ Direct Instruction

การสอนแบบ Direct Instruction เป็นการสอนที่มุ่งช่วยให้ได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหา สาระ และมโนทัศน์ต่างๆ รวมทั้งได้ฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆจนสามารถทำได้ดีและประสบผลสำเร็จได้ในเวลาที่จำกัด Joyce และ Weil (1992) ได้เสนอรูปแบบการสอนของ Direct Instruction ไว้ 5 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 : ขั้นนำ

ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน และพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน ชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าวๆ และชี้แจงกระบวนการเรียนรู้และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียน

ขั้นที่ 2 : ขั้นนำเสนอบทเรียน

ผู้สอนอธิบายหรือสาธิตเนื้อหาหรือทักษะใหม่ โดยใช้สื่อและกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ

ประกอบพร้อมกับตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน

ขั้นที่ 3 : ขั้นฝึกปฏิบัติตามแบบ

ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติตาม ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับ และเสริมแรงเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน

ขั้นที่ 4 : ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ

ผู้เรียนลงมือปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแลของผู้สอน ซึ่งต้องให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน โดยใช้การชมเชยและบอกให้แก้ไขสิ่งที่ผิด โดยบอกว่าทำผิดหรือถูกและแก้ไขอย่างไรหรืออาจสอนหรืออธิบายใหม่

ขั้นที่ 5 : ขั้นฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ

ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญ มีการให้ข้อมูลย้อนกลับภายหลังการฝึก และควรให้มีการฝึกเป็นระยะเพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทน

แหล่งอ้างอิง

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์และสันติ วิจักขณาลัญจ์ (2545). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา. ใน

ไพศาล สุวรรณน้อย คู่มือการพัฒนาการเรียนการสอน ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาธรรมวิทยา, หน้า 40-66.

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์. (2546). เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาอาจารย์ใหม่ เรื่อง การจัดการเรียนการสอน. เผยแพร่ทางvdo.kku.ac.th/mediacenter/mediacenter-uploads/libs/html/

1043/kingfa005.pdf

ทิศนา แขมณี. (2551).ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration Method)
เป็นวิธีสอนที่ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใกล้เคียงกับประสบการณ์ตรงมากที่สุด ซึ่งเป็นการสอนที่ผู้สอนแสดงให้ดูหรือผู้เรียนมีโอกาสได้กระทำด้วยตนเอง ทำให้การเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และตรงกับแนวคิดของกรวยประสบการณ์ที่ เอดก้า เดล ได้กล่าวไว้
ขั้นตอนการสอน

1. ผู้สอนแสดงการสาธิต ผู้เรียนสังเกตการสาธิต

2. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายและสรุปการเรียนรู้ที่ได้จากการสาธิต

3. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

เทคนิคการสอนด้วยวิธีสาธิต

ก่อนการสาธิต มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
1 การกำหนดวัตถุประสงค์ ของการสาธิตให้ชัดเจนว่าการสาธิตนั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไรการสาธิตบางอย่างเป็นการสาธิตกระบวนการเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการ ขั้นตอน เช่น การสาธิตการใส่สายสวนปัสสาวะ
2 การเตรียมการ ผู้สอนต้องเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการสาธิต เตรียมขั้นตอนการสาธิตซึ่งวิธีการเตรียมที่ถูกต้องคือ ต้องลองสาธิตดูก่อน เป็นการตรวจสอบว่าขั้นตอนเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นก็มีโอกาสแก้ไขได้ก่อน

ขณะทำการสาธิต
ผู้สอนควรอธิบายหรือบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจวัตถุประสงค์ของการสาธิต หลังจากนั้นจึงนำเข้าสู่การสาธิต โดยการอธิบายให้ฟังหรือใช้สื่อต่าง ๆ อาจจะเป็นสไลด์ประกอบคำบรรยายหรือวีดิทัศน์ หรือวิธีการที่ผู้สอนทั่วไปใช้คือ การให้ผู้เรียนได้ศึกษามาก่อน โดยให้ไปอ่านเอกสาร หนังสือ หรือค้นคว้าเรื่องราวที่สาธิตนั้นก่อน ก็จะทำให้การสาธิตดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและผู้เรียนเข้าใจได้ชัดเจน
ในขณะสาธิตผู้สอนต้องดำเนินการสาธิตไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ อาจจะสลับด้วยการบรรยายแล้วสาธิต วิธีที่จะทำให้บรรยากาศการสาธิตเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสาธิตตลอดเวลา อาจจะเป็นการถามนำ กระตุ้น หรือให้ผู้เรียนช่วยสาธิตเรื่องราวบางเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนหรือมีขั้นตอนยุ่งยาก ผู้สาธิตก็ต้องสาธิตหลาย ๆ ครั้ง หรือให้ผู้เรียนทำตามไปด้วยเป็นขั้น ๆ ผู้สอนจะต้องชี้แนะหรือเน้นย้ำในส่วนที่สำคัญตลอดเวลา ดังนั้นการวางแผนสาธิตจำเป็นต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี
ภายหลังการสาธิต
เมื่อการสาธิตจบลงแล้ว การย้ำเน้นเรื่องราวที่สาธิต ไม่ว่าจะเป็นการสาธิตกระบวนการหรือสาธิตผู้สอนก็ต้องให้มีการสรุป ทั้งนี้ผู้ดูหรือผู้เรียนเป็นผู้สรุปเอง โดยมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนกัน หรือบางครั้งการจัดอาจจะจบลงด้วยการสรุปโดยวีดิทัศน์ หรือสไลด์ประกอบเสียง โดยการสอบถาม แจกแบบสอบถาม แบบทดสอบ ทั้งนี้อยู่ที่ระยะเวลาที่เหลือ
การวัดและประเมินผล

การสอนแบบสาธิตส่วนใหญ่ผู้สอนหรือผู้สาธิตจะมีบทบาทในการประเมิน อาจจะโดยการสังเกต วิเคราะห์คำตอบว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่เพียงใด แต่การประเมินที่ดีคือการให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม
ข้อดีและข้อจำกัด

ข้อดี
1) ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
2) ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจดจำเรื่องที่สาธิตได้นาน
3) ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
4) ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
5) ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
ข้อจำกัด
1) หากผู้เรียนมีจำนวนมากเกินไปก็อาจทำให้การสังเกตไม่ทั่วถึง
2) ถ้าผู้เรียนเตรียมการมาไม่ดีเมื่อเวลาสาธิตวนไปวนมาหรือสาธิตไม่ชัดเจนก็ทำให้ได้ผลไม่ดี
3) ถ้าการสาธิตนั้นเน้นที่ผู้สอนโดยผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ปฏิบัติเลย ผู้เรียนก็อาจจะได้ประสบการณ์น้อย
4) บางครั้งการสาธิตที่เยิ่นเย้อก็ทำให้เสียเวลา

อ้างอิง

ทิศนา แขมณี. (2551).ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิธีการสอนโดยใช้การสาธิต (Demonstration Method) เผยแพร่ทางhttp://www.webobjects- design.com/ISD/index.php?option=com_content&task=view&id=40&Itemid=32

คลังบทความของบล็อก